วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เตรียมบังคับใช้ปี 2560

รู้กันหมดบ้าน...แต่รู้จริงแค่ไหน เรื่องใกล้ตัวเราทั้งนั้น..!!(แต่บางคนกลับตกข่าวครับ)

“ควรศึกษาและเข้าใจในสาระสำคัญของร่าง
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่าย และบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำมาใช้แทน
 พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 สำหรับใครที่กำลังตามข่าวเรื่องนี้อยู่ และอยากรู้รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่าเป็นอย่างไร
เราเข้าข่ายต้องเสียภาษีที่ดินนี้ด้วยหรือไม่ K-Expert ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปรายละเอียดสำคัญๆ ในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

เริ่มจากการทำความเข้าใจในสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กันก่อนค่ะ
ใครบ้างที่มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
ใครเป็นคนจัดเก็บภาษี สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้นั้นจะเป็น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ทำหน้าที่จัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นค่ะ
ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
ใช้ฐานภาษีอะไรในการคำนวณ สำหรับฐานภาษีที่ใช้ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะคิดคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด รวมถึงอัตรา
ค่าเสื่อมราคาที่กรมธนารักษ์เป็นผู้กำหนด ซึ่งเราสามารถเข้าไปดูราคาประเมินได้ที่เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ค่ะ
                                                                   
ทั้งนี้ หากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทาง อปท. ประกาศไม่ถูกต้อง เราสามารถอุทธรณ์ได้เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนอีกครั้งค่ะ และอย่าลืมบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่ร่าง พ.ร.บ.
      ฉบับนี้จะผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2560 ค่ะ
ดูรายละเอียด ตารางการคำนวณและอัตราการคิดตามลิงค์นี้ goo.gl/K9k4h5
                                                                                 
Credit: k-expert.askkbank.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น