4 สาเหตุ ของ ปัญหา บ้านทรุด...??



ปัญหา บ้านทรุด กลายเป็นเรื่องที่ทำให้หลายครอบครัวเป็นกังวลและกลุ้มใจกันอยู่ รวมไปถึงผู้ที่กำลังจะลงหลักปักฐานทำให้ไม่กล้าตัดสินใจในการเลือกซื้อบ้าน ธเนศ วีระศิริ รองเลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) อาจารย์ภาควิชา เทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า สาเหตุของบ้านหรืออาคารทรุดจะเกิดจาก 5 สาเหตุหลักด้วยกัน

สาเหตุ แรก คือ เกิดขึ้นจากการที่ตัวบ้านหรือตัวอาคารวางอยู่บนเสาเข็มที่สั้น และเสาเข็มที่สั้นนั้นวางอยู่บนดินที่อ่อน ในลักษณะ เช่นนี้ หากใช้เสาเข็มสั้นกับบ้านหรืออาคารในต่างจังหวัดก็มักจะไม่มีปัญหาเพราะดิน ต่างจังหวัดเป็นดินแข็ง แต่ถ้าเป็นในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑล เสาเข็มที่สั้นประมาณ 5-6 เมตร หรือ 10 เมตร วางอยู่บนดินที่อ่อนถือว่าเป็นการใช้เสาเข็มที่ไม่เหมาะสม ทำให้อาคารหรือบ้านเกิดการทรุดตัวได้

สาเหตุที่ 2 เสาเข็มมีความบกพร่อง เช่น เราบอกว่าบ้านเราตอกเสาเข็มยาว 20 เมตร ซึ่งโดยทั่วไปเขาใช้กัน เวลาไปสั่งจากโรงงานผู้ผลิตเสาเข็มตอก เราไม่สามารถสั่งเสาเข็มท่อนเดียวยาว 20 เมตรมาได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการขนส่ง ดังนั้น โรงงานจะทำเป็นเสาเข็ม 2 ท่อนท่อนละ 10 เมตร ให้แทน ฉะนั้น รอยต่อตรงนี้ต่อให้ตอกเสาเข็มดีขนาดไหนก็ตาม เมื่อตอกแล้วไม่มีการตรวจเช็กที่ดีมีโอกาสที่จะหลุดหรือหักได้

“บาง ครั้ง ถึงแม้จะเป็นเสาเข็มยาวท่อนเดียวที่โรงงานสามารถทำได้ แต่เวลาตอกลงไปในดินไปพบอะไรบางอย่างที่แข็ง หรือ ตอกแล้วไม่ได้ศูนย์ถ่วงที่เพียงพอ เสาเข็มก็มีโอกาสที่จะบิดหรือหักได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขอาคาร ก็จะมีการทรุดตัว เนื่องจากฐานรากวางอยู่บนเสาเข็มที่ไม่แข็งแรง”

สาเหตุต่อมา คือ เรามักได้ยินว่า การก่อสร้างอาคารจะต้องใช้ เสาเข็มที่ยาวเท่ากัน แต่ในปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่ถูกต้อง การก่อสร้างเช่นนี้สามารถใช้ได้บางพื้นที่เท่านั้น เพราะเสาเข็มยาวเท่ากันทั้งอาคาร ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เนื่องจากบางครั้งเสาเข็มที่ยาวเท่ากั นกลับตั้งอยู่บนดินต่างชนิดกัน

“จาก ประสบการณ์เคยพบทาวน์เฮาส์ชุดหนึ่ง 13 ห้อง ใช้เสาเข็ม 16 เมตรเท่ากัน แต่เมื่อสร้างเสร็จไปได้ประมาณ 2 ปี เกิดการทรุดตัว จากการเข้าไปตรวจสอบ โดยการเจาะสำรวจดินจึงพบว่า ด้านหนึ่งของทาวน์เฮาส์ เสาเข็ม 16 เมตรวางอยู่บนดินแข็ง แต่อีกด้านหนึ่งเสาเข็ม 16 เมตร วางอยู่บนดินอ่อน ดังนั้นการใช้เสาเข็มที่ยาวเท่ากันจึงยังไม่ถูกต้อง แต่ควรกล่าวว่า ปลายเสาเข็มทุกต้นควรวางอยู่บนดินชนิดเดียวกัน”

สาเหตุที่ 4 เป็นสาเหตุที่มักพบบ่อย ๆ เช่นกัน คือ เกิดจากเสาเข็มที่เยื้องตำแหน่งหรือเสาเข็มที่เยื้องศูนย์ เช่น เมื่อทำการก่อสร้างอาคารหลังหนึ่ง โดย 1 ฐาน จะมีเสาเข็ม 1 ต้น เวลาตอกลงไปไม่ง่ายเสมอไปที่จะทำให้การตอกเสาเข็มตรงตำแหน่งพอดี เพราะจะต้องมีการเคลื่อน จากตำแหน่งที่ตั้งไว้ไปบ้าง หรือบางครั้งเกิดจากการวางหมุดเสาเข็มผิดตำแหน่ง ทำให้ฐานรากเกิดการพลิกได้ ถ้าหลาย ๆ ฐานในอาคารมีการเยื้องตำแหน่งไปในทิศทางเดียวกันอาคารจะเอียง ซึ่งอาคารที่เอียงมักจะไม่มีรอยร้าวเกิดขึ้น

สาเหตุสุดท้าย ดินเกิดการเลื่อนตัวหรือยุบตัว เมื่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยทุกอย่างเป็นปกติ แต่ที่ดินด้านข้างมีการขุดดินขึ้นจ ะทำให้ดินเลื่อนไหล ซึ่งจะทำให้อาคารที่มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่แล้วมีการขยับได้ เช่น เราสร้างอาคารอยู่ข้างบ่อเลี้ยงปลา อยู่ ๆ มาวันหนึ่ง เขาก็สูบน้ำออกแล้วขุดดินเพิ่ม ก็ทำให้ดินบ้านเราไหลออกจากตัวอาคารมีการขยับทรุดเอียงลง หรือ บางครั้งเราก่อสร้างอาคารที่คิดว่ามั่นคงแข็งแรงแล้ว แต่ไม่รู้ว่าที่ดินที่เราสร้างอาคารไปนั้นเคยเป็นบ่อขยะเก่า เมื่อนานวันดินมีการยุบตัวลง ทำให้เสาเข็มมีการขยับทรุดตัวลงตามไปด้วย

ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของอาคารสามารถสังเกตตรวจดูอาคาร บ้านเรือนของตนได้จาก ในกรณีที่บ้านเอียง ซึ่งจะไม่พ บรอยร้าว จะ ใช้วิธีการวางลูกกลม ๆ ลงบนพื้น เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ถ้ากลิ้งไปในทิศทางเดียวกัน หรือเมื่อเปิดประตูแล้วประตูไหลไปเองโดยอัตโนมัติ ตรงนี้เป็นสัญญาณให้รู้ว่า อาคารมีการเอียงเกิดขึ้น

แต่ถ้าใน กรณีที่อาคารฐานรากมีการทรุดตัว ซึ่งฐานรากของอาคารมีหลายฐานจะมีการทรุดตัวไม่เท่ากันจะทำให้เกิดรอยร้าว ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่จะดูได้ คือ รอยร้าว โดยให้ดูที่ ผนังเป็นอันดับแรก ถ้าผนังมีรอยแตก เอีย งมีลักษณะที่ช่วงกลางกว้างกว่าปลายทั้ง 2 ข้าง และเป็นรอยแตกทะลุ คือ มองจากด้านหนึ่งเห็นผนังร้าวแล้วเดินไปอีกด้านหนึ่งของผนังก็เห็นรอยร้าว เช่นเดียวกัน ตำแหน่งเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมองเห็นหน้ากัน ถ้าเป็นที่ผนังชั้นล่าง แสดงว่า อาคารฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน

“วิธีการ ดูว่าฐานรากใดทรุด ให้ลากเส้นตั้งฉากกับรอยร้าว ปลายที่ชี้ลงดินจะชี้ไปยังฐานรากที่เกิดการทรุดตั วรอ ยร้า วส่วนใหญ่ที่ผนังจะ เป็นรอยร้าวที่เกิดชั้นล่างเพราะอยู่ใกล้ฐานรากมากที่สุดจึงเกิดก่อน แต่ถ้าผนังชั้นล่างไม่ร้าวไปร้าวที่ผนังชั้นบนในลักษณะเดียวกัน สันนิษฐานได้ว่า เป็นอาคารต่อเนื่อง โดยฐานรากที่ทรุดไม่ใช่ของเราแต่ เป็นของคนอื่นเพราะเมื่อเกิดการทรุดตัวจึงทำใ ห้มีรอยร้าวเกิดขึ้น”

นอกจากนั้นไปสังเกตดูที่ คาน จะมีข้อชัดเจนอยู่ที่ปลายคาน ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ปลายคานทั้ง 2 ข้าง แต่มีทิศ ทางกลับกัน โดยปลายคานด้านที่ฐานรากทรุดตัวมากจะเกิดรอยร้าวจากด้านล่างของคานแล้วแตก ลามขึ้นข้างบน ในขณะที่ปลายคานที่ฐานรากไม่ทรุดตัวหรือทรุดตัวน้อยกว่าจะแตกร้าวจาก ด้านบน ไล่ลงมา ด้านล่าง

ถัดมาคือ ที่พื้น ให้สังเกตรอยร้าวจะเกิดที่ผิวขอบพื้นด้านใดด้านหนึ่งเพี ย งด้านเดียว โดยแตกขนานกับคาน ถ้าพบรอยแตกแบบนี้ แสดงว่า ฐานรากที่รองรับเสาด้านตรงข้ามเกิดการทรุดตัว

สุดท้าย คือ สังเกตที่เสา หากมีการทรุดตัวของฐานราก เสาต้นที่วางอยู่บนฐานรากที่ทรุดตัวน้อยหรือไม่ทรุดตัว เลยจะถูกดึงรั้งจาก ฐานรากที่ทรุดตัวจนกระทั่งโก่งงอและเกิดรอยร้าวแนวนอนหลายแนวมีลักษณะเป็น ปล้อง ๆ คล้ายดัดไม้บรรทัดพลาสติกให้โค้งงอ แต่เสาที่ทรุด ตัวจะไม่มีรอยแตกร้าวเพราะจะเอียงทรุดตามไปด้วย

โดยปกติการทรุดตัวของฐานรากจะมากหรือน้อยนั้นจะรู้ได้ต้องอ าศัยการตรวจสอบโดย หลักทางวิศวกรรม คื อ ใช้กล้องสำรวจทางวิศวกรรม ในการตรวจสอ บ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ฐานรากที่เกิดการทรุดตัวนั้น ทรุดมากกว่าฐาน รากอื่นเท่าใด ทรุดมากน้อยอย่างไร รวมทั้ง อัตราการทรุดตัวต่อวันเป็นอย่างไร

เมื่อพบว่า ฐานรากของอาคารมีปัญหาเกิดการทรุดตัวเกิดขึ้น วิธีการแก้ไขสามารถทำได้โดยการเสริมเสาเข็ม เพื่อให้เสาใหม่รับแรงแทนเสาต้นเก่าที่มีการทรุดตัว

ธเนศ กล่าวทิ้งท้ายด้วยความห่วงใยว่า “ก่อนการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร จึงควรมีการเจาะสำรวจดินเสียก่อน เพื่อดูว่าเป็นดินชนิดใดจะได้ใช้ขนาดของเสาเข็มได้อย่างถูกต้อง ประกอบกับ เจ้าของบ้านและเจ้าของอาคาร ควรหมั่นตรวจ สังเกตรอยร้าวว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เมื่อไรก็ตาม ที่พบเห็นรอยร้าว ควรติดต่อวิศวกรเพื่อเข้ามาตรวจสอบ ถ้าหาวิศวกรหรือคนปรึกษาไม่ได้ สามารถโทรฯ เข้ามา สอบถามได้ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 0-2319-2410-3 โดยจะมีคลินิกช่างให้คำปรึกษาเดือนละครั้งทุกวันเสาร์ ของปลายเดือน ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” แล้วบ้านที่อาศัยจะเป็นวิมานของคุณตลอดไป.

ขอบคุณที่มา โดยคุณ มาดามเฟ www.nightsiam.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น